International travel and sexually transmitted diseases

18 November 2024

โดย  อาจารย์นายแพทย์อานนท์  วรยิ่งยง

ขนาดที่แน่นอนของปัญหาทางสุขภาพอันเนื่องจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STDs)  ทั่วโลกยังไม่ได้มีใครแสดงไว้แต่ก็พบว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญของสาธารณสุข   ในปัจจุบันพบว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สำคัญที่สุดได้แก่ เอดส์, ไวรัสตับอักเสบบี, แผลริมแข็ง, หนองใน, หนองในเทียม, แผลริมอ่อน, เริม

การเคลื่อนย้ายประชากรกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

การเคลื่อนย้ายประชากรเป็นปัจจัยหนึ่งในการแพร่การกระจายเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  ผู้เดินทางอาจถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนย้ายประชากร  ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และพากลับไปยังประเทศบ้านเกิดของตัวเอง  ตัวอย่างเช่น การล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ในประเทศทางยุโรปตะวันออกในปี ค.ศ. 1980  ทำให้เกิดการคลื่อนย้ายของประชาการจำนวนมากข้ามแนวชายแดนระหว่างประเทศ  เช่นในประเทศตุรกี  มีการเคลื่อนย้ายประชากรจากกลุ่มประเทศในยุโรปตะวันออกและสหภาพโซเวียตเก่าเป็นจำนวนมาก  ซึ่งพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของประชาการในประเทศตุรกีด้วย  หรือพบเช่นเดียวกันในกรณีของผู้หญิงที่มาจากสหภาพโซเวียตเก่าที่อพยพเข้าสู่ประเทศยุโรปใต้

การเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศในปัจจุบันพบว่ามีส่วนในการทำให้เกิดการกระจายของเชื้อเอดส์ไปทั่วโลก  ตัวอย่างเช่นมีชาวออสเตรเลียประมาณ  5 แสนคนต่อปีที่มีประวัติมีเพศสัมพันธ์กับชาวฟิลิปปินส์และไทย แล้วพบว่ามีจำนวนมากที่ไม่ได้ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  นอกจากนั้นยังพบว่าการติดเชื้อไวรัสเอดส์อย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มชาวออสเตรเลียที่ไม่ได้มีมาตรการป้องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์กับหญิงขายบริการทางเพศในปะรเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ข้อมูลจากเมือง Victoria ในปี ค.ศ. 1991 พบว่าร้อยละ 44 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคหนองในเป็นผู้ชาย   ซึ่งได้รับเชื้อหนองในมาจากต่างประเทศ   โดยพบว่าผู้ที่ขายบริการทางเพศทั้งหญิงและชาย   จะแพร่กระจายเชื้อได้ประมาณร้อยละ 68   และการมีประวัติว่าเคยเป็นโรคหนองในหรือโรคแผลริมอ่อน (chan-croid)   มาก่อนจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อไวรัสเอสด์   ส่วนปัจจัยร่วมอื่นของการแพร่กระจายเชื้อไวรัสเอสด์ได้แก่ การเป็นหูดหรือเริมที่บริเวณอวัยวะเพศซึ่งพบได้บ่อยในประเทศออสเตรเลีย

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ระหว่างเดินทาง

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  ถือเป็นโรคประจำถิ่นในประเทศกำลังพัฒนาในหลายประเทศ  โดยมีเชื้อมากว่า 25 ชนิด  ที่สามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์  ผู้เดินทางหรือนักท่องเที่ยวมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  โดยเฉพาะในจุดหมายปลายทางยอดนิยมซึ่งบางแห่งมีความเสี่ยงสูง  ความเสี่ยงจะมากสุดในนักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางที่มีจุดมุ่งหมายทางเพศ (sex tourist) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ชายที่อายุน้อยกว่า 40 ปี  ซึ่งต้องการมีประสบการณ์แปลกใหม่และการผจญภัย  แต่การรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่ำทำให้ไม่ได้รับความสนใจจากผู้เดินทางส่วนใหญ่โดยเฉพาะการรับรู้ความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคเอดส์

มีการศึกษาหลายการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่ามีนักท่องเที่ยวร้อยละ 20-70 เท่านั้นที่ใช้ถุงยางอนามัยซึ่งทำให้เป็นสาเหตุที่สำคัญของการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  ในนักเดินทางท่องเที่ยว (มีประมาณร้อยละ 2-10)  และเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงที่มีนักเดินทางท่องเที่ยวระหว่าประเทศจำนวนมากที่ไม่รู้ตัวว่าติดโรคทางเพศสัมพันธ์  เนื่องจากไม่มีอาการ  และนำโรคดังกล่าวกลับมาแพร่ให้ผู้อื่นต่อเมื่อกลับมายังประเทศตัวเอง  การกระทำบางอย่างของนักเดินทางเท่องเที่ยวก็มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี, เอดส์, ซิฟิลิส ได้เช่น การฝังเข็ม (acupuncture), การสัก (piercing and tattoo)

ตัวอย่างของการแพร่กระจายของเชื้อสายพันธุ์ที่ดื้อยาจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งโดยนักท่องเที่ยวเช่น  เชื้อโกโนเรียที่ดื้อต่อยาควิโนโลน (Quinolone-resistant Neisseria gonorrhoea) ซึ่งพบบ่อยในทวีปเอเชียนั้น พบครั้งแรกจากนักท่องเที่ยวที่มีเพศสัมพันธ์ระหว่างการเดินทาง   ซึ่งปัจจุบันสายพันธุ์นี้พบอย่างกว้างขวางในแคลิฟอร์เนีย   และฮาวาย  โดยอุบัติการณ์ของเชื้อที่แคลิฟอร์เนียเพิ่มจากร้อยละ  0.28  ระหว่างปี ค.ศ. 1999-2001  เป็นร้อยละ 2.1 ในปี ค.ศ. 2002  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการแพร่กระจายของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มีการข้ามระหว่างประเทศโดยนักเดินทางท่องเที่ยว

ในแถบแอฟริกา พบเชื้อ C  Trachomatis  ร้อยละ 13-32  ในกลุ่มผู้ขายบริการทางเพศ  ส่วน lymphogranuloma venereum immunotypes พบร้อยละ 7-19  ในกลุ่มของผู้ที่มีแผลบริเวณอวัยวะเพศ  ในขณะที่เอเชียพบถึงร้อยละ 9 สำหรับซิฟิลิส  เมื่อดูจากผลทางภูมิคุ้มกัน (serologic studies)  พบร้อยละ 5-55 ในแถบแอฟริกาและเอเชีย  และพบว่าผู้ขายบริการทางเพศในแถบเอเชียเป็นพาหะร้อยละ 6.1-17.9

สำหรับเชื้อไวรัสเอดส์  พบมีรายงานมากกว่า 160 ประเทศ  โดยพบว่ามีความชุก 18-43 ต่อแสนประชากรในทวีปแถบแอฟริกาและ 61-70 ต่อแสนประชากรในแถบแคริบเบียน

ดังนั้นการขาดข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงของการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  และมาตรการป้องกันในกลุ่มนักท่องเที่ยว  ทำให้นักท่องเที่ยวมีโอกาสของการมีเพศสัมพันธ์ในต่างแดนมากขึ้นซึ่งทำให้เกิดการแพร่กระจายมากขึ้น

พฤติกรรมทางเพศระหว่างการเดินทาง

เป็นการยากที่จะบอกได้ตัวเลขที่แท้จริงของการมีเพศสัมพันธ์ในต่างแดนของนักท่องเที่ยวเป็นเท่าใด  เพราะนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะให้ข้อมูลด้านนี้น้อยมาก  พบว่ามีนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่มีจุดมุ่งหมายในเรื่องของกามารมณ์และการแสวงหาประสบการณ์แปลกใหม่ทางด้านเพศ  รวมถึงความแปลกใหม่ทางวัฒนธรรมความเป็นอยู่  ดังนั้นจึงพบได้บ่อยว่านักท่องที่ยวเหล่านี้ถูกครอบงำ  หรือถูกโน้มน้าวที่จะทำให้มีความสัมพันธ์ทางเพศได้ง่าย  โดยพบว่าระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว  นักเดินทางท่องเที่ยวทั้ง 2 เพศต่างก็มีแนวโน้มที่จะถูกดึงดูดสู่เพศตรงข้ามได้มากว่าเมื่ออยู่ที่ประเทศของตน  ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการที่จะได้รับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาด้วย

พฤติกรรมทางเพศที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางสามารถเปลี่ยนความเสี่ยงของการแพร่กระจายโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้รวมถึงมีผลต่อระบาดวิทยาของโรคติดต่อทางเพศสัมันธ์ได้ด้วยในการศึกษาของ Hattich และคณะ  พบว่ามีนักท่องเที่ยวชาวสวิสร้อยละ 30 ที่ตอบแบบสอบถามแล้ว  พบว่าร้อยละ 5-10 มีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงขายบริการทางเพศท้องถิ่นที่เดินทางไปและในอีกการศึกษาหนึ่งที่ทำในคนหนุ่มสาวชาวออสเตรเลียที่เดินทางมาเมืองไทย  เพื่อดูความตั้งใจของการมีเพศสัมพันธ์ระหว่าการเดินทางท่องเที่ยว พบว่าเพียงร้อยละ  34  เท่านั้นที่ไม่ได้มีความตั้งใจที่จะไม่มีเพศสัมพันธ์  หรือในอีกการศึกษาหนึ่งที่ศึกษาถึงพฤติกรรมทางเพศและความเสี่ยงของการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในนักเดินทาง/ท่องเที่ยวที่มาจากฮองกง  พบว่าร้อยละ 44 (168/383)  มีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าระหว่างการเดินทาง  และมีจำนวนร้อยละ 37 (139/376) ที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัย  โดยส่วนใหญ่ของกลุ่มนักเดินทางที่มีความเสี่ยงสูงเป็นกลุ่มวัยกลางคนและแต่งงานแล้ว

กลยุทธ์การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ให้ผู้เดินทางท่องเที่ยว

ได้มีการพิสูจน์แล้วว่าการใช้ถุงยางอนามัยที่ได้มาตรฐานเป็นวิธีป้องกันโรคติดต่อทางเพศมัมพันธ์รวมถึงโรคเอดส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  มีคำแนะนำให้ผู้เดินทางท่องเที่ยว  เพศชายควรต้องมีถุงยางอนามัยติดตัวว้และใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์, และควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าระหว่างการเดินทาง  ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสเข็มและกระบอกฉีดยาที่ไม่สะอาดหรือไม่ได้ปลอดเชื้อ (non sterile) เช่นหลีกเลี่ยงการทำผ่าตัด, การทำหัตถการในช่องปากที่ไม่แน่ใจว่าใช้อุปกรณ์ที่ปลอดเชื้อหรือไม่, หลีกเลี่ยงการฝังเข็ม (acupuncture), การสัก (piercing and tattoo), หรือการเจาะหู  ควรมีการให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไป  นักเรียน  ผู้อพยพ  และผู้เดินทางหรือท่องเที่ยวทุกคน  เกี่ยวกับการป้องกันการติดต่อโรคทางเพศสัมพันธ์  สำหรับแพทย์ผู้ดูแลผู้ที่จะเดินทางควรพูดคุยกับผู้เดินทางเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องดังกล่าวก่อนเดินทางด้วย

Referrence : Internation travel and sexually transmitted diseases โดย Ziad A. Memish, Abimbola O.Osoba, Travel Medicine and infectious Disease (206) 4, 86-93

Cover photo credit : Pixabay License / derneuemann

Covid-19
Sportman
Travel
Zika

บทความอื่นที่น่าสนใจ

18 November 2024
บทความทั่วไป, บทความทางการแพทย์
พิษจากปลาปักเป้า

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ. มุกดา  ตฤษณานนท์ การเดินทางไปท่องเที่ยวในที่ต่างๆ นอกจากจะดูภูมิประเทศในแหล่งต่างๆ แล้ว การรับประทานอาหารก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง การรับประทานอาหารอาจมีอันตรายได้ ถ้าเราไม่ระวังและไม่ทราบสิ่งที่เป็นพิษมาก่อน ปลาเป็นอาหารที่น่ารับประทานอย่างหนึ่ง เนื่องจากเป็นอาหารที่ย่อยง่าย มีกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย มีสารอาหารที่สำคัญ แต่ปลาที่เป็นพิษ เช่น ปลาปักเป้า รับประทานแล้วเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ พิษของปลาปักเป้าเป็นพิษที่ทนต่อความร้อน เมื่อถูกความร้อนพิษจะไม่เสียไป ได้มีผู้นำเอาปลาปักเป้ามาขายเป็นจำนวนมากเรียกว่า “ปลาเนื้อไก่” เพราะเนื้อมีลักษณะคล้ายเนื้อไก่ ราคามไม่แพงเห็นแล้วน่ารับประทาน แต่ที่จริงเป็นพิษ ปลาปักเป้า หรือ Puffer fish เป็นปลาที่หาได้ในน้ำจืดและน้ำเค็ม พบได้ทั่วประเทศที่มีอากาศร้อนอบอุ่น ในประเทศไทยพบปลาปักเป้าน้ำจืดได้ตามแหล่งน้าต่าง ๆ เช่น ตามหนอง คลอง บึง ส่วนปลาปักเป้าหนามทุเรียน เป็นปลาปักเป้าทะเล พบได้ในอ่าวไทย ตามปกติ ปลาปักเป้าจะมีสภาพเหมือนปลาทั่วไป มีหนามสั้นหรือยาวแล้วแต่ชนิด หากถูกรบกวนจะพองตัวโตขึ้น มีรูปร่างคล้ายลูกโป่ง หรือ ลูกบอลลูน ปลาปักเป้าทะเลเป็นที่รู้จักันดี สำหรับชาวประมง ถ้าพบเห็นบนเรือลากอวน เขามักจะทำลายมันทิ้งหรือโยนกลับลงไปในทะเลในญี่ปุ่นเรียกปลาชนิดนี้ว่า “Fuge” ชาวญี่ปุ่นชอบรับประทานแต่ต้องมีการเตรียมโดยผู้ที่มีความชำนาญเฉพาะเป็นพิเศษ จึงจะไม่มีพิษ พิษของปลาปักเป้ามีชื่อว่า […]

Covid-19
Sportman
Travel
Zika
อ่านเพิ่มเติม
18 November 2024
บทความทั่วไป, บทความทางการแพทย์
คำถามที่ถามบ่อยเกี่ยวกับโรคมาลาเรีย

ข้อมูลจาก: แผ่นพับให้ความรู้ประชาชน โดยคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล โรคมาลาเรียคืออะไร       โรคมาลาเรียเป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง ติดจากยุงมาสู่คน โดยเชื้อมาลาเรียในมนุษย์มีทั้งหมด 4 ชนิดคือ Plasmodium falciparum, Plasmodium vivax, Plasmodium malariae    และ  Plasmodium ovalae โรคมาลาเรียพบบ่อยแค่ไหน และพบในส่วนไหนของประเทศไทย        โรคมาลาเรียพบในประเทศเขตร้อน และเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ องค์การอนามัยโรคประมาณกันว่าในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยเป็นมาลาเรียถึงปีละ 300-400 ล้านคนทั่วโลก และมีคนเสียชีวิตปีละประมาณ 1 ล้านคน โดยส่วนใหญ่เกิดในทวีปแอฟริกา          ส่วนในประเทศไทยเองสามารถพบเชื้อมาลาเรียได้ในเขตป่า โดยเฉพาะตามเขตชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านเช่น ชายแดนไทย-พม่า ชายแดนไทย-กัมพูชา โดยจังหวัดที่มีการรายงานพบผู้ป่วยมาลาเรียเป็นจำนวนมากคือ จังหวัดตาก กาญจนบุรี ตราด ราชบุรี แม่ฮ่องสอน เป็นต้น โดยจะพบในเขตพื้นที่ที่เป็นป่าเขาเท่านั้น  ไม่พบมาลาเรียในเขตเมือง โรคมาลาเรียติดต่ออย่างไร          โดยปกติแล้วคนสามารถติดเชื้อมาลาเรียโดยการถูกยุงก้นปล่อง (Anopheles)กัด โดยยุงจะปล่อยเชื้อมาลาเรียเข้าร่างกายคน หลังจากนั้นจะมีการแบ่งตัวมากขึ้นทำให้เกิดอาการของโรคมาลาเรียได้ และ เมื่อมียุงก้นปล่องมากัดคนที่เป็นมาลาเรียจะสามารถนำเชื้อแพร่ไปสู่คนอื่นได้อีก           เนื่องจากเชื้อมาลาเรียอยู่ในกระแสเลือดของผู้ป่วย ดังนั้นจึงมีรายงานการติดเชื้อมาลาเรียโดยการได้รับเลือด โดยการใช้เข็มฉีดยาหรือกระบอกฉีดยาร่วมกัน อาการของโรคมาลาเรียเป็นอย่างไร           โดยปกติแล้วผู้ป่วยมักจะเริ่มมีอาการภายหลังได้รับเชื้อแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ถึง 2 เดือน โดยอาการของผูป่วยคือจะมีไข้สูง หนาวสั่น เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว บางรายมีการบวดท้อง […]

Covid-19
Sportman
Travel
Zika
อ่านเพิ่มเติม
18 November 2024
บทความทั่วไป, บทความทางการแพทย์
งูเห่า

โดย  ศ.นพ.มุกดา  ตฤษณานนท์      การเดินทางท่องเที่ยวตามป่าเขาและทุ่งนา  อาจพบกับพวกงูบางชนิด  ซึ่งเป็นงูมีพิษ  และอาจทำอันตรายถึงแก่ชีวิตได้  ดังจะได้กล่าวต่อไป      งูเห่าเป็นสัตว์ที่มีพิษ  ซึ่งมีผลต่อประสาท  พบได้ทั่วไปในประเทศไทย  งูเห่าจะแผ่แม่เบี้ยเห็นชัดเจน   ที่หัวมีดอกจันท์  บางชนิดอาจจะไม่มีการก็ได้  ลำตัวสีค่อนข้างดำ  งูโดยมากมักจะหนี  ไม่ใช่จะกัดเราง่าย ๆ นอกจากจะไปเหยียบตัวงูเข้า  หรืองูตกใจ  ส่วนใหญ่ผู้ที่ถูกกัดมักจะไปเหยียบ  งูจะฉกกัดทันทีอย่างรวดเร็ว  บางทีเรามองไม่เห็นงูด้วยซ้ำไป  งูมักจะอยู่ในที่มืด เช่น ตามใต้ท่อนไม้ซึ่งผุ  ตามใต้ก้อนหินหรือหลบอยู่ตามพงหญ้า  ตามทุ่งนาเป็นต้น  งูมีพิษจะมีเขี้ยว 2  เขี้ยว  เมื่อฉกกัดจะเห็นเป็นรอยเขี้ยวเป็นรู 2 รู  มีเลือดออกซิบ ๆ มีอาการเจ็บ  เสียวแปลบ  ปวดมากพอสมควร  ผู้ถูกกัดจะรู้สึกทันที     ถ้าถูกกัดด้วยงูเห่าซึ่งมีตัวใหญ่  และปล่อยพิษเข้าไปมาก  จะเกิดอาการภายใน  20  นาที  อาการจะเริ่มต้นด้วยมีอาการงงที่ศรีษะ, ปวดเมื่อย  ต่อไปมีอาการหนังตาตก ลืมตาไม่ขึ้น  […]

Covid-19
Sportman
Travel
Zika
อ่านเพิ่มเติม
18 November 2024
บทความทั่วไป, บทความทางการแพทย์
ไข้เลือดออก..โรคที่นักท่องเที่ยวพึงระวัง

รศ.รท.นพ.ชิษณุ  พันธุ์เจริญ ไข้เลือดอออกจัดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย  มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสเด็งกี่ซึ่งมี 4 ชนิด คือ เด็งกี่-1 ถึง 4 โดยมียุงลายซึ่งมักหากินในเวลากลางวันเป็นพาหนะนำโรค  พบผู้ป่วยเฉลี่ยปีละ 50,000 -100,000 ราย  เป็นผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกร่วมด้วยประมาณร้อยละ 5 และเป็นผู้ป่วยเสียชีวิตประมาณปีละ 100-400 ราย  ในบางปีที่มีการระบาดใหญ่พบผู้ป่วยกว่าแสนรายต่อปี  แต่เดิมผู้ป่วยไข้เลือดออกมักพบเด็กเล็ก  แต่ในระยะหลายสิบปีที่ผ่านมาเป็นที่น่าสังเกตว่า  อายุของผู้ป่วยทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น  และในปัจจุบันผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กโตและผู้ใหญ่               ปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไปยังประเทศต่าง ๆทั่วโลก  อาจเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงจากสังคมมาเป็นชุมชนชาวเมือง  สภาพชุมชนแออัดที่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงเพิ่มขึ้น  การควบคุมปะชากรยุงและการควบคุมโรคที่ขาดประสิทธิภาพและการเดินทางที่สะดวกรวดเร็ว อาการของผู้ป่วยไข้เลือดออกสิ่งที่ควรรู้                  ผู้ป่วยไข้เลือดออกมีอาการไข้สูงลอย หน้าแดง ปวดศีรษะ ปวดเหมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง และมีภาวะเลือดออก อาจเป็นจุดเลือดออกที่ผิวหนังซึ่งเกิดขึ้นเองหรือจากการรัดแขนที่เรียกว่าการทดสอบทูนิเกต์หรือมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร อาการของผู้ป่วยมี 3 ระยะคือ       1. ระยะไข้สูง เป็นระยะเวลา 3-7 วัน 2. ระยะวิกฤตเป็นระยะที่ผู้ป่วยมีอาการไข้ลดลง หากผู้ป่วยมีการรั่วของพลาสมาอาจเกิดภาวะช็อก  โดยผู้ป่วยจะอาการกระสับกระส่าย  มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็วและเบาลง […]

Covid-19
Sportman
Travel
Zika
อ่านเพิ่มเติม
18 November 2024
บทความทั่วไป, บทความทางการแพทย์
ไข้ฉี่หนู (Leptospirosis)

 เรียบเรียงโดย    ผู้ช่วยศาสตราจารย์อุษณีย์  สุทธิสารสุนทร          จัดทำโดย  คณะกรรมการแผ่นพับเพื่อการประชาสัมพันธ์คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล สาเหตุของโรค            ไข้ฉี่หนู  เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียที่มีรูปร่างเกลียว  มีชื่อว่า เลปโตสไปรา ( Leptospira ) จึงเรียกชื่อโรคนี้ว่าเลปโตสไปโรซิส ( Leptospirosis ) เชื้อนี้ทำให้เกิดโรคในคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว สุกร โค กระบือ ม้า แพะ แกะ ฯลฯ  และที่สำคัญคือ หนู แต่สัตว์ต่าง ๆ อาจไม่แสดงอาการป่วย  การติดต่อ             โรคนี้ติดต่อจากสัตว์สู่คน  โดยสัตว์ที่เป็นโรคนี้จะขับถ่ายเชื้อโรคออกมากับปัสสาวะ เชื้อจะอาศัยได้ในดินที่ชื้นแฉะหรือมีน้ำขัง  และเข้าสู่คนทางผิวหนังอ่อน เช่น ชอกนิ้วมือและเท้า บาดแผลหรือเยื่อเมือก ดังนั้นมักจะพบโรคนี้ในคนที่ทำงานเกียวข้องกับสัตว์ […]

Covid-19
Sportman
Travel
Zika
อ่านเพิ่มเติม