บทความ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ. มุกดา ตฤษณานนท์ การเดินทางไปท่องเที่ยวในที่ต่างๆ นอกจากจะดูภูมิประเทศในแหล่งต่างๆ แล้ว การรับประทานอาหารก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง การรับประทานอาหารอาจมีอันตรายได้ ถ้าเราไม่ระวังและไม่ทราบสิ่งที่เป็นพิษมาก่อน ปลาเป็นอาหารที่น่ารับประทานอย่างหนึ่ง เนื่องจากเป็นอาหารที่ย่อยง่าย มีกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย มีสารอาหารที่สำคัญ แต่ปลาที่เป็นพิษ เช่น ปลาปักเป้า รับประทานแล้วเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ พิษของปลาปักเป้าเป็นพิษที่ทนต่อความร้อน เมื่อถูกความร้อนพิษจะไม่เสียไป ได้มีผู้นำเอาปลาปักเป้ามาขายเป็นจำนวนมากเรียกว่า “ปลาเนื้อไก่” เพราะเนื้อมีลักษณะคล้ายเนื้อไก่ ราคามไม่แพงเห็นแล้วน่ารับประทาน แต่ที่จริงเป็นพิษ ปลาปักเป้า หรือ Puffer fish เป็นปลาที่หาได้ในน้ำจืดและน้ำเค็ม พบได้ทั่วประเทศที่มีอากาศร้อนอบอุ่น ในประเทศไทยพบปลาปักเป้าน้ำจืดได้ตามแหล่งน้าต่าง ๆ เช่น ตามหนอง คลอง บึง ส่วนปลาปักเป้าหนามทุเรียน เป็นปลาปักเป้าทะเล พบได้ในอ่าวไทย ตามปกติ ปลาปักเป้าจะมีสภาพเหมือนปลาทั่วไป มีหนามสั้นหรือยาวแล้วแต่ชนิด หากถูกรบกวนจะพองตัวโตขึ้น มีรูปร่างคล้ายลูกโป่ง หรือ ลูกบอลลูน ปลาปักเป้าทะเลเป็นที่รู้จักันดี สำหรับชาวประมง ถ้าพบเห็นบนเรือลากอวน เขามักจะทำลายมันทิ้งหรือโยนกลับลงไปในทะเลในญี่ปุ่นเรียกปลาชนิดนี้ว่า “Fuge” ชาวญี่ปุ่นชอบรับประทานแต่ต้องมีการเตรียมโดยผู้ที่มีความชำนาญเฉพาะเป็นพิเศษ จึงจะไม่มีพิษ พิษของปลาปักเป้ามีชื่อว่า […]
ข้อมูลจาก: แผ่นพับให้ความรู้ประชาชน โดยคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล โรคมาลาเรียคืออะไร โรคมาลาเรียเป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง ติดจากยุงมาสู่คน โดยเชื้อมาลาเรียในมนุษย์มีทั้งหมด 4 ชนิดคือ Plasmodium falciparum, Plasmodium vivax, Plasmodium malariae และ Plasmodium ovalae โรคมาลาเรียพบบ่อยแค่ไหน และพบในส่วนไหนของประเทศไทย โรคมาลาเรียพบในประเทศเขตร้อน และเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ องค์การอนามัยโรคประมาณกันว่าในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยเป็นมาลาเรียถึงปีละ 300-400 ล้านคนทั่วโลก และมีคนเสียชีวิตปีละประมาณ 1 ล้านคน โดยส่วนใหญ่เกิดในทวีปแอฟริกา ส่วนในประเทศไทยเองสามารถพบเชื้อมาลาเรียได้ในเขตป่า โดยเฉพาะตามเขตชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านเช่น ชายแดนไทย-พม่า ชายแดนไทย-กัมพูชา โดยจังหวัดที่มีการรายงานพบผู้ป่วยมาลาเรียเป็นจำนวนมากคือ จังหวัดตาก กาญจนบุรี ตราด ราชบุรี แม่ฮ่องสอน เป็นต้น โดยจะพบในเขตพื้นที่ที่เป็นป่าเขาเท่านั้น ไม่พบมาลาเรียในเขตเมือง โรคมาลาเรียติดต่ออย่างไร โดยปกติแล้วคนสามารถติดเชื้อมาลาเรียโดยการถูกยุงก้นปล่อง (Anopheles)กัด โดยยุงจะปล่อยเชื้อมาลาเรียเข้าร่างกายคน หลังจากนั้นจะมีการแบ่งตัวมากขึ้นทำให้เกิดอาการของโรคมาลาเรียได้ และ เมื่อมียุงก้นปล่องมากัดคนที่เป็นมาลาเรียจะสามารถนำเชื้อแพร่ไปสู่คนอื่นได้อีก เนื่องจากเชื้อมาลาเรียอยู่ในกระแสเลือดของผู้ป่วย ดังนั้นจึงมีรายงานการติดเชื้อมาลาเรียโดยการได้รับเลือด โดยการใช้เข็มฉีดยาหรือกระบอกฉีดยาร่วมกัน อาการของโรคมาลาเรียเป็นอย่างไร โดยปกติแล้วผู้ป่วยมักจะเริ่มมีอาการภายหลังได้รับเชื้อแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ถึง 2 เดือน โดยอาการของผูป่วยคือจะมีไข้สูง หนาวสั่น เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว บางรายมีการบวดท้อง […]
โดย ศ.นพ.มุกดา ตฤษณานนท์ การเดินทางท่องเที่ยวตามป่าเขาและทุ่งนา อาจพบกับพวกงูบางชนิด ซึ่งเป็นงูมีพิษ และอาจทำอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ดังจะได้กล่าวต่อไป งูเห่าเป็นสัตว์ที่มีพิษ ซึ่งมีผลต่อประสาท พบได้ทั่วไปในประเทศไทย งูเห่าจะแผ่แม่เบี้ยเห็นชัดเจน ที่หัวมีดอกจันท์ บางชนิดอาจจะไม่มีการก็ได้ ลำตัวสีค่อนข้างดำ งูโดยมากมักจะหนี ไม่ใช่จะกัดเราง่าย ๆ นอกจากจะไปเหยียบตัวงูเข้า หรืองูตกใจ ส่วนใหญ่ผู้ที่ถูกกัดมักจะไปเหยียบ งูจะฉกกัดทันทีอย่างรวดเร็ว บางทีเรามองไม่เห็นงูด้วยซ้ำไป งูมักจะอยู่ในที่มืด เช่น ตามใต้ท่อนไม้ซึ่งผุ ตามใต้ก้อนหินหรือหลบอยู่ตามพงหญ้า ตามทุ่งนาเป็นต้น งูมีพิษจะมีเขี้ยว 2 เขี้ยว เมื่อฉกกัดจะเห็นเป็นรอยเขี้ยวเป็นรู 2 รู มีเลือดออกซิบ ๆ มีอาการเจ็บ เสียวแปลบ ปวดมากพอสมควร ผู้ถูกกัดจะรู้สึกทันที ถ้าถูกกัดด้วยงูเห่าซึ่งมีตัวใหญ่ และปล่อยพิษเข้าไปมาก จะเกิดอาการภายใน 20 นาที อาการจะเริ่มต้นด้วยมีอาการงงที่ศรีษะ, ปวดเมื่อย ต่อไปมีอาการหนังตาตก ลืมตาไม่ขึ้น […]
รศ.รท.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ ไข้เลือดอออกจัดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสเด็งกี่ซึ่งมี 4 ชนิด คือ เด็งกี่-1 ถึง 4 โดยมียุงลายซึ่งมักหากินในเวลากลางวันเป็นพาหนะนำโรค พบผู้ป่วยเฉลี่ยปีละ 50,000 -100,000 ราย เป็นผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกร่วมด้วยประมาณร้อยละ 5 และเป็นผู้ป่วยเสียชีวิตประมาณปีละ 100-400 ราย ในบางปีที่มีการระบาดใหญ่พบผู้ป่วยกว่าแสนรายต่อปี แต่เดิมผู้ป่วยไข้เลือดออกมักพบเด็กเล็ก แต่ในระยะหลายสิบปีที่ผ่านมาเป็นที่น่าสังเกตว่า อายุของผู้ป่วยทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น และในปัจจุบันผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กโตและผู้ใหญ่ ปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไปยังประเทศต่าง ๆทั่วโลก อาจเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงจากสังคมมาเป็นชุมชนชาวเมือง สภาพชุมชนแออัดที่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงเพิ่มขึ้น การควบคุมปะชากรยุงและการควบคุมโรคที่ขาดประสิทธิภาพและการเดินทางที่สะดวกรวดเร็ว อาการของผู้ป่วยไข้เลือดออกสิ่งที่ควรรู้ ผู้ป่วยไข้เลือดออกมีอาการไข้สูงลอย หน้าแดง ปวดศีรษะ ปวดเหมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง และมีภาวะเลือดออก อาจเป็นจุดเลือดออกที่ผิวหนังซึ่งเกิดขึ้นเองหรือจากการรัดแขนที่เรียกว่าการทดสอบทูนิเกต์หรือมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร อาการของผู้ป่วยมี 3 ระยะคือ 1. ระยะไข้สูง เป็นระยะเวลา 3-7 วัน 2. ระยะวิกฤตเป็นระยะที่ผู้ป่วยมีอาการไข้ลดลง หากผู้ป่วยมีการรั่วของพลาสมาอาจเกิดภาวะช็อก โดยผู้ป่วยจะอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็วและเบาลง […]
เรียบเรียงโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อุษณีย์ สุทธิสารสุนทร จัดทำโดย คณะกรรมการแผ่นพับเพื่อการประชาสัมพันธ์คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล สาเหตุของโรค ไข้ฉี่หนู เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียที่มีรูปร่างเกลียว มีชื่อว่า เลปโตสไปรา ( Leptospira ) จึงเรียกชื่อโรคนี้ว่าเลปโตสไปโรซิส ( Leptospirosis ) เชื้อนี้ทำให้เกิดโรคในคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว สุกร โค กระบือ ม้า แพะ แกะ ฯลฯ และที่สำคัญคือ หนู แต่สัตว์ต่าง ๆ อาจไม่แสดงอาการป่วย การติดต่อ โรคนี้ติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยสัตว์ที่เป็นโรคนี้จะขับถ่ายเชื้อโรคออกมากับปัสสาวะ เชื้อจะอาศัยได้ในดินที่ชื้นแฉะหรือมีน้ำขัง และเข้าสู่คนทางผิวหนังอ่อน เช่น ชอกนิ้วมือและเท้า บาดแผลหรือเยื่อเมือก ดังนั้นมักจะพบโรคนี้ในคนที่ทำงานเกียวข้องกับสัตว์ […]
โดย อาจารย์นายแพทย์อานนท์ วรยิ่งยง ขนาดที่แน่นอนของปัญหาทางสุขภาพอันเนื่องจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STDs) ทั่วโลกยังไม่ได้มีใครแสดงไว้แต่ก็พบว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญของสาธารณสุข ในปัจจุบันพบว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สำคัญที่สุดได้แก่ เอดส์, ไวรัสตับอักเสบบี, แผลริมแข็ง, หนองใน, หนองในเทียม, แผลริมอ่อน, เริม การเคลื่อนย้ายประชากรกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การเคลื่อนย้ายประชากรเป็นปัจจัยหนึ่งในการแพร่การกระจายเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผู้เดินทางอาจถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนย้ายประชากร ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และพากลับไปยังประเทศบ้านเกิดของตัวเอง ตัวอย่างเช่น การล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ในประเทศทางยุโรปตะวันออกในปี ค.ศ. 1980 ทำให้เกิดการคลื่อนย้ายของประชาการจำนวนมากข้ามแนวชายแดนระหว่างประเทศ เช่นในประเทศตุรกี มีการเคลื่อนย้ายประชากรจากกลุ่มประเทศในยุโรปตะวันออกและสหภาพโซเวียตเก่าเป็นจำนวนมาก ซึ่งพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของประชาการในประเทศตุรกีด้วย หรือพบเช่นเดียวกันในกรณีของผู้หญิงที่มาจากสหภาพโซเวียตเก่าที่อพยพเข้าสู่ประเทศยุโรปใต้ การเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศในปัจจุบันพบว่ามีส่วนในการทำให้เกิดการกระจายของเชื้อเอดส์ไปทั่วโลก ตัวอย่างเช่นมีชาวออสเตรเลียประมาณ 5 แสนคนต่อปีที่มีประวัติมีเพศสัมพันธ์กับชาวฟิลิปปินส์และไทย แล้วพบว่ามีจำนวนมากที่ไม่ได้ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นอกจากนั้นยังพบว่าการติดเชื้อไวรัสเอดส์อย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มชาวออสเตรเลียที่ไม่ได้มีมาตรการป้องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์กับหญิงขายบริการทางเพศในปะรเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ข้อมูลจากเมือง Victoria ในปี ค.ศ. 1991 พบว่าร้อยละ 44 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคหนองในเป็นผู้ชาย ซึ่งได้รับเชื้อหนองในมาจากต่างประเทศ โดยพบว่าผู้ที่ขายบริการทางเพศทั้งหญิงและชาย จะแพร่กระจายเชื้อได้ประมาณร้อยละ 68 และการมีประวัติว่าเคยเป็นโรคหนองในหรือโรคแผลริมอ่อน (chan-croid) มาก่อนจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อไวรัสเอสด์ ส่วนปัจจัยร่วมอื่นของการแพร่กระจายเชื้อไวรัสเอสด์ได้แก่ การเป็นหูดหรือเริมที่บริเวณอวัยวะเพศซึ่งพบได้บ่อยในประเทศออสเตรเลีย ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ระหว่างเดินทาง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ถือเป็นโรคประจำถิ่นในประเทศกำลังพัฒนาในหลายประเทศ โดยมีเชื้อมากว่า 25 […]